วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อันจริง

ศิลปะรัตนโกสินทร์
(พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕)


สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครฯ ขึ้นเป็นราชธานีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ลงมาจนถึงสมัยปัจจุบันการจำแนกรูปแบบทางศิลปกรรมอาจจำแนกได้เป็น 3 ยุคใหญ่ๆอันได้แก่
๑.ประติมากรรม
                ตอนต้น   ในรัชกาลที่ ๑  เนื่องจากการย้ายเมืองหลวงเป็นกรุงเทพมหานคร จึงไม่มีการริเริ่มสร้างวัดใหม่ แต่จะเป็นการทำนุบำรุงและบูรณะแทน ในราชกาลที่ ๒ และ๓  ก็เป็นเช่นเดียวกันคือการเน้นการทำนุบำรุงงานประติมากรรมและประติมากรรมต่างๆ โดยเน้นที่ลวดลายและความละเอียดมากกว่าที่เน้นเรื่องสีสัน
                ตอนกลาง  ในรัชกาลที่ ๔ เกิดความนิยมศิลปะแบบ Realistic จึงพยายามทำให้รูปปั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับคนให้มากที่สุด ในราชกาลที่ ๕ มีการนำลักษณะเก่าๆดั้งเดิมของไทยมาใช้อยากมาก อีกทั้งยังเน้นความเหมือนจริงให้มากไปกว่าเดิม เพราะในสมัยนั้นมันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
                สมัยสังคมประชาธิปไตย รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาก็มีการแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปให้เหมือนสามัญชนยิ่งขึ้นทุกที แต่ยังคงรักษาพระพุทธลักษณะที่สำคัญบางประการไว้ และในปัจจุบันบางครั้งก็สร้างสรรค์พระพุทธรูปที่มีรูปร่างลักษณะอิริยาบถอันแปลกๆออกมาแต่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากของโบราณโดยสิ้นเชิง
                ฐานของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นประติมากรรมของยุครัตนโกสินทร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างแพร่หลาย ซึ่งถูกใช้ในการแสดงออกทางการเมืองของคนไทยในปัจจุบันอีกด้วย


๒.จิตรกรรม
                ตอนต้น สำหรับจิตรกรรมนั้น ภาพเขียนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็คงตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย แต่อิทธิพลของศิลปะจีนที่มีอยู่บ้างในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นหายไป ภาพเขียนในสมัยนี้ล้วนใช้สีและปิดทองลงบนภาพทั้งสิ้น ภาพเขียนบนผนังในสมัยรัตนโกสินทร์ดูจะรุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังอาจเห็นได้จากภาพเขียนในพระอุโบสถและพระวิหาร ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม



                ตอนกลาง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา มีการติดต่อกับต่างประเทศทางตะวันตกมากขึ้น อิทธิพลของจิตรกรรมต่างประเทศทางตะวันตกก็เข้ามาปนอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังของไทย ดังอาจเห็นได้จากภาพเขียนบนผนังพระอุโบสถที่วัดมหาพฤฒาราม



ในปัจจุบัน ต่อจากสมัยตอนกลางจิตรกรรมมีความหลากหลายมากทั้งแนวคิดและรูปแบบ ซึ่งรวมไปถึงสื่อ กลวิธี คติ ความเชื่อต่างๆ มีทั้งที่อนุรักษ์ของโบราณและสรรค์สร้างขึ้นมาใหม่ แต่ที่เป็นที่รู้จักของผู้คนมากก็คือภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์




3.สถาปัตยกรรม
                ตอนต้น   สำหรับสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นั้นมีดังนี้ คือ แบบอย่างพระสถูปเจดีย์ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑-๓ นิยมสร้างพระปรางค์กับพระเจดีย์ไม้สิบสองเป็นหลักรัชกาลที่ ๑ มีการสร้างวัดพระศรีรัต-นศาสดารามและวัดสุทัศน์เทพวราราม และให้บูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างในวัดอื่นๆซึ่งมีมาก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงดำริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ค้างอยู่ มาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๓ สำหรับโบสถ์วิหารในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มักสร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เกิดนิยมแบบอย่างศิลปะจีนวัดที่สร้างในรัชกาลนี้บางแห่งก็มักย้ายสร้างคล้ายแบบจีนคือยกเอาช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ออกเสีย หน้าบันหรือหน้าจั่วแทนที่จะเป็นไม้สลักอย่างแต่ก่อนก็เปลี่ยนเป็นก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับ เสาก็มักเป็นสี่เหลี่ยมทึบใหญ่ ไม่มีบัวหัวเสา ในรัชกาลนี้ได้ทรงสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก





                ตอนกลาง  รัชกาลที่ ๔ นิยมสร้างพระสถูปกลมทรงลังกาและยังทรงนิยมจำลองแบบพระเจดีย์สมัยอยุธยามาสร้างด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดไม่มาก แต่บางแห่งได้หันกลับไปทำตามคติแบบเก่า คือยึดพระเจดีย์เป็นประธานของวัดอย่างแต่ก่อน สร้างพระระเบียงและวิหารทิศล้อมรอบพระเจดีย์ ภายนอกประดับประดากระเบื้องหลากสี ตกแต่งภายในโบสถ์วิหารเป็นรูปแบบตะวันตก


                ปัจจุบัน สถาปัตยกรรมในสมัยปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมากมายมีทั้งที่เลียนแบบของโบราณและที่สร้างแบบขึ้นมาใหม่ อาคารบ้านเรือนสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับอาคารบ้านเรือนในสมัยรัตนโกสินทร์ บ้านไม้แบบไทยแท้ก็ยังคงอยู่ต่อไป ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ลงมา นิยมก่อสร้างอาคารด้วยอิฐ เป็นแบบไทยบ้างแบบจีนบ้าง และตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ลงมา จึงนิยมสร้างเลียนแบบฝรั่ง



6 ความคิดเห็น: